top of page
Search
  • Writer's pictureMotiveTalent

3 วิธีสร้างแบรนด์ให้ปังบน Campus นอกจาก Job Fair!



ใกล้ปิดเทอมแล้ว หลายๆ มหาวิทยาลัยก็เร่งร่วมมือกับบริษัทนายจ้างในการหางานให้นักศึกษา ปีนี้ Job Fair  หลายๆ ที่ก็ยังคงคึกคักมีนักศึกษาเดินกันเยอะแยะตลอดเวลา หลายๆ องค์กรที่ดูมีโปรแกรมพิเศษในการต้อนรับนักศึกษาก็จะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ หรือบางองค์กรที่ลงโฆษณากันตูมตามตลอดเวลาก็คงมีน้องๆ มานั่งปรึกษากันที่บูท แต่ถ้าแบรนด์เรายังไม่ปัง ถ้าไป Job Fair ยังไงก็ “ปังปินาศ” กันอยู่ดี งั้นมาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีอะไรอีกที่จะสร้างแบรนด์บน Campus ให้ดูเป็นผู้ดี มีสาระ


1. Company Info Session

คืออะไร?: Company Info Session เป็นวิธีการไปแนะนำตัวให้น้องๆ บน Campus รู้จักตัวบริษัท แค่สวัสดีแบบสวยๆ แต่ว่าแบบใกล้ชิดมากขึ้น เหมาะสำหรับเป็นวิธี ‘การย้ำเตือน (Remind)’ ว่าชั้นยังมีตัวตนอยู่นะ ยังต้องการนักศึกษาเข้ามาทำงาน หรือฝึกงานอยู่นะ


ทำไมถึงใช้คำว่าเหมาะกับการย้ำเตือนความสัมพันธ์? เพราะว่าถ้าไม่มีคนรู้จักคุณอยู่แล้ว หรือว่าถ้าคุณไม่ป๊อปพอ มีความเสี่ยงมากที่จะยกโขยงกันไปนั่งตบยุง จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลกิจการนิสิตนักศึกษา ทุกคนกลัวกันมากว่าจัด session ให้บริษัทแล้ว และเด็กๆ ก็ลงทะเบียนนะคะ ลงกันถล่มทลาย แต่พอถึงเวลาจริงๆ ที่ลงทะเบียนกันมาหายไปไหนกันหมด เหมือน account ผีที่ไม่มีตัวตนเลยหล่ะค่ะ


เหมาะกับบริษัทแบบไหน?: ต้องมีความดังระดับ 3  คือ ทุกคนรู้จัก และติดท็อป 3 ในอุตสาหกรรมของคุณ น้องรู้จักคุณในฐานะบริษัทนายจ้างอย่างเต็มตัวเพราะอาจจะมีคนอื่นพูดให้ฟังว่าบริษัทนี้เป็นยังไง


วิธีแก้เกมเฉพาะหน้า: การตั้งชื่อ Session

ถ้าหน้าแบรนด์เรายังไม่ปัง อย่าเอาชื่อบริษัทนำ แล้วบอกว่าเป็น Company Info Session เด็ดขาดค่ะคุณขา แต่ให้หามุมการตั้งชื่อจาก content ปัจจุบันที่นักศึกษาจะได้ประโยชน์แทน โดยการตั้งคำถามว่า “ถ้าน้องเค้าไม่สมัครงานกับเรา แล้วเค้าจะได้อะไรจาก session นี้ที่เค้าเอาไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง?” เช่น ถ้าเราจะไปแชร์ Management Trainee Program ที่กำลังจะ launch ออกมา เราอาจจะเปลี่ยนชื่อจาก XYZ Company: Management Trainee Info Session ไปเป็น ขึ้นเก้าอี้ผู้บริหารใน 2 ปี ทำอย่างไร? กับบริษัท XYZ  แต่ว่า…ขอความกรุณาปรับเนื้อหาตามหัวข้อด้วยนะคะ


กลยุทธ์ระยะยาว

Insights: สิ่งที่น้องคิดเสมอ คือ จะเสียเวลาชั้นไหม? ไปแล้วชั้นจะได้อะไร?


สร้าง Content ใหม่: หน้าแบรนด์เรายังไม่สวยไม่เป็นไรค่ะ แต่ต้องไปกับ Content ที่โดน ต้องรู้ว่านักศึกษาสนใจอะไร จากการสำรวจกับนักศึกษากว่า 1,200 คน เกินกว่าครึ่งบอกเราว่าคำแนะนำเรื่องอาชีพเป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจอย่างมากค่ะ อย่างเช่น การเลือกอาชีพ สิ่งที่จะทำให้เค้าเลือกทางที่เหมาะและประสบความสำเร็จได้ หรือเป็น industry trend ไปเลยค่ะ จะได้อัพเดทความรู้กันไปด้วย นี่คือสิ่งที่น้องๆ อยากฟังมากค่ะว่าโลกการทำงานจริงมันเป็นยังไงอาใครไป?: พี่ๆ HR ควรจะจูงมือกับคนที่ทำงานใน  function ที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้นๆ ค่ะ หรือถ้ายิ่งเป็น alumni ได้ยิ่งดีค่ะ ใครที่ deliver ได้จริงที่สุดเอาคนนั้นไปค่ะ บางทีตำแหน่งผู้บริหารก็ช่วยนะคะ แต่ว่ามันแล้วแต่ระดับความฮอตของท่านอีก ถ้าท่านผู้บริหารไม่ใช่บุคคลของประชาชนระดับ celeb จริงๆ หรือมี follower เป็นหลักแสน น้องๆ อาจจะไม่รู้จักอยู่ดีค่ะ


2. Competition หรือ การจัดการแข่งขัน



คืออะไร?: มันคือเวทีที่ให้นักศึกษามาแสดงความสามารถ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับ ‘การสร้างความจดจำและความเชื่อมโยงกับภาพลักษณ์และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (Brand Association)’ เพราะการแข่งขันส่วนใหญ่ต้องใช้เวลา น้องๆ ต้องแก้โจทย์หรือไม่ก็ใช้เวลาเจอกับพี่ๆ และนี่แหละค่ะ คือ วิธีการสร้างความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ว่าชั้นมีดีอย่างไร

ใน  Stage นี้แต่ละแบรนด์เจอโจทย์ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่า Consumer brand เค้าพุ่งตรงไปหา Target ไหนและมีภาพลักษณ์อย่างไร

ถ้าคุณเป็นบริษัทที่มีความเป็น millenial ในตัว ชีวิตจะง่าย ยิ่งถ้าเป็น product ที่พวกเค้าใช้กันทุกวันอยู่แล้วอย่าง Line, Google, Facebook ชีวิตคุณจะดี๊ดีระดับ 10 ไม่ต้องพูดอะไรมากเค้าชอบคุณอยู่แล้ว แต่ว่าโจทย์คือทำยังไงให้ความชอบบริโภคกลายมาเป็นชอบคุณในฐานะบริษัทที่น่าสนใจ

สำหรับบางที่ชีวิตอาจจะไม่ดีเท่า เพราะถึงเค้าจะใช้แต่เค้าไม่ชอบ product คุณ น้องๆ คิดว่าคุณเชย คุณโลโซ คุณเก่าแก่ หรือแม้แต่ว่าคุณเกินเอื้อม ดูหยิ่ง ไปไม่ถึง ก็ต้องแก้โจทย์กันไป

หนำซ้ำหนักกว่านั้นทุกวันนี้รายการการแข่งขันเต็มไปหมด ไม่เชื่อลอง Google ดูกิจกรรมแข่งขันของนักศึกษา หรือดูที่นี่ค่ะ Contest war


เหมาะกับบริษัทแบบไหน?: ต้องมีความดังระดับ 2 คือ ทุกคนรู้จัก อาจจะยังไม่ติดท็อป 5 และอาจจะรู้จักแค่ในฐานะของผู้บริโภคหรือ consumer brand มากกว่าในฐานะนายจ้าง


วิธีแก้เกมเฉพาะหน้า: สร้างสัมพันธ์ให้ถูกที่และเข้าให้ถูกทาง

วิธีเร็วด่วนจี๋ของการสร้างความสัมพันธ์ก็คือการหา community ที่เขา strong กันแล้ว มีตัวตนชัดเจนแล้ว hipแล้ว โดยคุณต้องเริ่มถามตัวเองว่า “คุณอยากสร้างสัมพันธ์กับเด็กแบบไหน?” (หยุดค่ะ คิดอะไรอยู่คะ?) เช่น เด็กหลังห้องที่ไม่เข้าเรียน แต่ชัดเจนมากว่าตัวเองอย่างเป็นอะไร เด็กกิจกรรมที่ทำมันทุกอย่างตั้งแต่ประธานรุ่นจนกระทั่งค่ายอาสา เด็กเรียนเก่งท็อปห้องที่ชีวิตนี้ไม่เคยได้ต่ำกว่า A หรือเด็กไฮโซอินเตอร์พูดภาษาอังกฤษคล่องปรื๋อ เด็กแบบไหนที่เหมาะกับเรา แล้วหาทางเข้าให้ถูกทาง ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์  ชมรมนิสิตนักศึกษา หรือว่าองค์กรที่ทำงานกับนักศึกษาเช่น AIESEC หรือ CareerVisa


กลยุทธ์ระยะยาว

Insights: เด็กๆ มองหา process การเรียนรู้จากโลกแห่งความจริงเป็นอันดับหนึ่ง ใน competition นี้จะได้เรียนรู้วิธีอะไร จากใคร มันต่างจากในห้องยังไง มันได้ทำจริงไหม และเอาเข้าไปใส่ใน resume แล้วมันมีคุณค่ากับตัวชั้นไหมเนี่ย


Impact มีจริงแค่ไหน: ในสายตาของน้องๆ ถือว่าเป็นการพิสูจน์ตัวเองให้โลกความจริงเห็นว่าหนูทำได้   เหมือนเป็นการลองของ ซึ่งนี่เป็นจุดหลักที่ทำให้นักศึกษานอกจากต้องเรียนวันจันทร์ถึงศุกร์แล้ว ยังคงหาเวลารวมตัวกัน คิด ทำ ส่งแผนการแข่งขัน เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสที่จะทำให้พวกเขาได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใน โลกการทำงานจริงลงทุนกับการ design learning experience: สิ่งที่น้องๆ มักจะนำเข้ามาคือความเข้าใจพื้นฐาน ในขณะที่องค์กรต้องเพิ่มความรู้ รวมถึงการให้โจทย์ที่มาจากโลกการทำงานจริงๆ เพื่อให้น้องๆได้เรียนรู้กันเต็มที่ เพื่อทำให้ประสบการณ์การทำงานร่วมกันครั้งแรกที่น้องๆ จะได้เข้ามาเจอกับพี่ๆในองค์กร เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยการเรียนรู้ แล้วนั่นแหละค่ะเค้าจะเริ่มเชื่อมความสัมพันธ์กับแบรนด์เรา และไปบอกต่อกันเอง


3. Co-Curriculum หรือ ออกแบบคอร์สร่วม

คืออะไร?: Co-Curriculum มาจาก logic ง่ายๆ ที่ว่า ถ้าเราหาคนที่มีลักษณะที่เราอยากได้ไม่ได้ ก็เข้าไปสร้างเค้าเลย เป็นวิธีเหมาะสำหรับ ‘การสร้างการรับรู้แบบ focus และให้ได้ผลตรง target’ ดีกรีความเข้มข้นของการสร้าง curriculum มีตั้งแต่การเป็น guest speaker ในชั้นเรียนในหัวข้อเฉพาะ หรือการต้อนรับนักศึกษามาที่ company ในรูปแบบ company visit จนถึงการเข้าไปเป็นอาจารย์ประจำเจ้าของรายวิชา จนถึงสร้างหลักสูตรใหม่ที่ให้ใบประกาศนียบัตรแต่ไม่ใช่ปริญญา และถ้าเต็มรูปแบบกันสุดๆ ละก็ เราคงเห็นการตั้งเป็นมหาวิทยาลัยจากความรู้ที่มีอยู่ อย่างปัญญาภิวัฒน์

แต่ถ้าเราไม่ได้เป็นที่รู้จักขนาดนั้นจะเริ่มยังไงดีล่ะ?


เหมาะกับบริษัทแบบไหน?: ความดังระดับ 1-3 ระดับไหนก็มีปัญหาการ recruit น้องๆ talent ทั้งนั้นค่ะ

กลยุทธ์ระยะยาว


Insights: เด็กๆ มองหาโอกาสเข้าทำงานกับองค์กรที่ช่วยให้เค้าได้เรียนรู้


จัด meet up: เพราะสถาบันการศึกษาก็มีอาจารย์ประจำมากมาย หลายที่อาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาเรื่องของการสร้างหลักสูตรร่วม  คิดการใหญ่ได้ แต่ต้องเริ่มจากก้าวเล็ก ง่ายที่สุดคือ เริ่มจากวิธีที่เราสามารถ control หลักสูตรได้ จัด training สั้นๆ หรือ meetup ของบริษัทเราเอง แล้วสร้างสัมพันธ์โดยการเชิญอาจารย์มา observe แต่ว่าเราจะต้องหาอาจารย์ที่สนใจเรื่อง employability ของลูกศิษย์จริงๆ นะคะ และทดลองโดย workshop เล็กๆ

3 views0 comments
bottom of page