top of page
Search
  • Writer's pictureMotiveTalent

คนแบบไหนที่ Startup อยากได้มาร่วมงานด้วย?



หลายทศวรรษที่ผ่านมา Startup เป็นธุรกิจที่มาแรงแซงทางโค้งที่สุด หลายๆ ครั้งท่านผู้อ่านจะได้เห็นข่าวการระดมทุน หรือ ร่วมทุน จากทั้งภาครัฐและเอกชนใน Startup เพื่อต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิต 4.0 ของพวกเรา ยิ่งไปกว่านั้น Startup ยังเป็นรูปแบบธุรกิจที่เหล่าบรรดาคนรุ่นใหม่ Gen Y หรือ Gen Z ตามหา เพราะด้วยความเข้ากันของลักษณะทางธุรกิจกับ Lifestyle ของคนทั้งสองรุ่น โดย GenY ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ได้ใช้ความสามารถในการทำงาน Gen Z เกิดมาพร้อมเทคโนโลยี ซึ่ง Startup ก็เกิดมาพร้อมกับพวกเขา และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเหล่า Gen Y และ Gen Z คือทำอย่างไรให้เหล่า Startup ชั้นนำเหล่านี้เลือกเขาเข้าไปร่วมงาน แน่นอนว่าบริษัทเจ๋งๆ นั้นต้องการคนเจ๋งๆ เข้าไปทำงาน แล้วอะไรคือตัวแปรที่สำคัญที่เหล่าบรรดา Startup หัวกะทิในประเทศไทยตามหา เรามาค้นหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ


วันนี้ MotiveTalent จะมาเล่าให้ฟังถึงมุมมองดีๆ จากตัวแทนสอง Startup ชั้นนำจากทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ คุณทรอย CEO Globish Academia (Thailand) Co., Ltd และ คุณฝ้าย Community Manager จาก Wework Thailand Limited รวมถึงหนึ่งองค์กรผู้สนับสนุนเหล่า Startup ในประเทศไทย ได้แก่ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ในงาน Founder Apprentice 2019 Launch Event ที่ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พ.ค.2019 ที่ผ่านมา


สรุปเป็นคุณสมบัติที่ Startup ต้องการได้ดังนี้


1. คนที่เป็นตัวของตัวเอง (Authentic)

มีความคิดเป็นของตัวเอง มีจุดยืนที่ชัดเจน มีเป้าหมายและทำตามเป้าหมาย รู้ว่าตนเองให้ความสำคัญกับอะไรและมุ่งมั่นทำมันให้สำเร็จ เพราะความเป็นตัวของตัวเองนั้นสำคัญมากถึงมากที่สุดในธุรกิจ Startup เราจำเป็นต้องรู้ว่าเราทำสิ่งๆ นี้ไปเพื่ออะไร เราต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้น เหมือนอย่างที่คุณทรอย กล่าวว่า

“เราต้องการคนที่มี Belief มาช่วยลดความกลัวของคนอื่น”

เพราะขึ้นชื่อว่า Startup คือการลองทำอะไรใหม่ๆ ไม่มีอะไรมารับรองว่ามันจะประสบความสำเร็จ 100% แต่สิ่งที่จะมาช่วยพยุงและทำให้ทุกคนก้าวต่อไปได้นั้นคือความเชื่อและความพยายามของทุกคนในทีมที่จะทำให้เป้าหมายให้ประสบความสำเร็จต่อไป


2. คนที่สร้างการเปลี่ยนแปลง (Make Changes)

ธุรกิจ Startup คือการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อมาทดแทนและอำนวยความสะดวกรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของคนในโลก ดังนั้นคนที่จะเข้ามามาขับเคลื่อนนั้นต้องเป็นคนที่มองเห็นถึงโอกาส และทำให้โอกาสนั้นเป็นจริงได้ ได้เหมือนอย่างที่คุณทรอย กล่าวว่า

“ผมต้องการคนที่อยากจะสร้างอะไรสักอย่าง เพื่อมาเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างเพื่อนำพาองค์กรไปสู่อนาคต"

3. คนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Ready for Changes)

นอกจากที่เราจะต้องการคนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงแล้ว เรายังต้องการคนที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เพราะด้วยพื้นฐานของ Startup นั้นเป็นธุรกิจที่ยืนอยู่บนการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia ที่เคยเป็นบริษัทอันดับหนึ่งด้านโทรศัพท์มือถือ กลับถูก Disrupt จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป หรือแม้แต่ Kodak ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตนเองจนทำให้ธุรกิจล่มสลายไปเช่นกัน การยอมรับการเปลี่ยนแปลงเปรียบเสมือนหัวใจของ Startup เลยก็ว่าได้ แม้แต่ Facebook ที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ใครจะรู้ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะมี Application จาก Startup ในประเทศไทยเข้ามา Disrupt เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภคมากกว่าก็เป็นได้


4. คนที่มีความอดทน (Patience)

“คุณค่าของคนอยู่ที่ความอดทน”

เป็นประโยคที่หลายคนคงเคยได้ยิน แต่น้อยคนนักที่สามารถปฏิบัติตามประโยคนี้ได้ หลายๆ ธุรกิจยักษ์ใหญ่ มีวันนี้ได้ก็เพราะความอดทน ฝ่าฟันกับอุปสรรค์ที่ผ่านเข้ามาใน Life cycle ของธุรกิจ เช่นเดียวกันกับ Startup ที่เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ต้องระดมทั้ง เวลาเงินทุน และคนซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาเมื่อไหร่ 10 ปี 20 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น เพราะอัตราความสำเร็จของ Startup ทั่วโลกมีไม่ถึงร้อยละสิบ และหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ Startup เหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จคือความไม่อดทนนดังนั้น ความอดทนจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ Startup ตามหานั้นเอง


5. คนที่อยากโตไปพร้อมกัน บ้าไปด้วยกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน (Grow Together)

ข้อนี้สำคัญที่สุด ผู้เขียนเชื่อว่าไม่ใช่แค่ธุรกิจประเภท Startup เท่านั้นที่ต้องการคนประเภทนี้ แม้แต่ธุรกิจประเภทอื่นๆ เองก็ยังตามหาคนเหล่านี้เช่นกัน เพราะคนประเภทนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความผูกพันในองค์กร (Engagement) ที่ทุกๆ องค์กรต้องการ และกำลังประสบปัญหาความผูกพันในองค์กรต่ำอยู่นั้นเองพนักงานที่อยากอยู่กับองค์กรไปนานๆ เป็นเหมือนครอบครัว พี่น้อง ดูแลกันและกัน และสนุกกับการทำงานไปด้วยกัน จึงถือเป็นหัวใจหลักที่เหล่า Startup ถามหาจากเหล่า GenY หรือ GenZ รุ่นใหม่นั้นเอง


ผู้อ่านได้อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะมีความเข้าใจมากขึ้นถึง คุณสมบัติที่ Startup ตามหาแล้วนะครับ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะพูดให้ถูกและครบถ้วนที่สุด ผู้เขียนก็จะไม่เข้าข้าง Startup มากนัก เพราะเราต้องดูกันทั้งสองฝั่ง คือ ฝ่ายพนักงาน กับ องค์กร เหมือนอย่างในสำนวนไทยที่ว่า “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” เพราะถ้าหากองค์กรดูแลพนักงานไม่ดี ไม่ดูแลพวกเขาเป็นครอบครัว เห็นเป็นเพียงแค่หมากในเกมตัวหนึ่ง ไม่เห็นความสำคัญของเขา ผู้อ่านก็คงไม่อยากอยู่เป็นครอบครัวกับองค์กรแบบนี้เหมือนกันจริงไหม


และสุดท้าย หากองค์กรไหนกำลังประสบปัญหาเรื่องแบรนด์นายจ้าง ทั้งจากมุมมองของคนภายในและภายนอกองค์กร หรือต้องการพัฒนาแบรนด์นายจ้างของคุณให้ดียิ่งขึ้น ทางเรามีเครื่องมือ กลยุทธ์ และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมทำ Employer Branding ให้กับองค์กรของคุณ เพราะเราเชื่อว่าองค์กรที่ดีจะนำมาซึ่งคนเก่งและมีคุณภาพ ดังนั้นแล้วการช่วยพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่ดีหรือเป็นองค์กรที่น่าร่วมงาน (Great Place to Work) จึงเป็นหน้าที่สำคัญของเรา

 

เรียบเรียงโดย

Udomsub Denpetkul

158 views0 comments
bottom of page