ไม่ว่าเราจะมีการบริหารจัดการแบรนด์ที่เป็นระบบหรือไม่ นายจ้างทุกรายมี Employer brand ติดตัวกันอยู่แล้วค่ะ เรียกได้ว่าถ้าเรามี Employee ปุ๊บ Employer brand ของเราก็เกิดปั๊บ
Q: แต่ว่าเมื่อเราตัดสินใจจัดการบริหาร brand แบบ proactive กันแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรละค่ะว่าควรจะเริ่มตรงไหน?
A: Brand Healthcheck เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ถูกใช้ในการเริ่มกำหนดปัญหา หรือโอกาสที่เราควรจะ Focus ในการพัฒนา Employer Brand ของเรา
แต่หลายๆบริษัทบางทีพอต้องเริ่มมาดูที่ขั้นนี้ก็เริ่มถอดใจ ไข้ขึ้นกันไปตามๆกัน เพราะว่าราคาค่าการวัดสุขภาพแบรนด์ ต้องผ่าน research หรือว่า Employee enagement survey ค่อนข้างจะเอาเรื่องพอสมควร บางทีถึงต้องรอปีหน้าตั้งงบประมาณใหม่ถึงจะเริ่มได้
แค่ตรวจสุขภาพ…งบก็จะหมดแล้ว…จริงเหรอ?
แน่นอนค่ะการวัดสุขภาพแบรนด์อย่างมีระบบต้องทำการ Research ทั้ง Quantitative และ Qualitative เพื่อให้ได้ทิศทางของแบรนด์ที่ชัดเจน นอกจากนั้นการจ้าง Third Party มายังทำให้สามารถเข้าถึง Database ที่กว้างขวางขึ้น และสามารถทำให้เทียบ Performance ของตัวเราและผู้แข่งที่ชัดเจนขึ้น
แต่ครั้งนี้เราอยากจะเสนอวิธีง่ายๆสำหรับการทำ Employer brand healthcheck กัน ในแบบที่ไม่ต้องรอปีหน้าตั้งงบใหม่ แต่ใช้เพียงการสังเกตจากสัญญาณเตือนต่างๆในสถานการณ์ชีวิตประจำวันทั่วไปที่เราทำงาน เราก็น่าจะเริ่มวัดได้แล้วค่ะว่าแบรนด์ของเรา Hot ขนาดไหน
ก่อนที่จะไปดูวิธีวัด เรามาดูการไต่ระดับความ Hot ที่วัดได้กันก่อนดีกว่าค่ะ
ระดับความ Hot 4 ระดับ
ระดับ 1 Aware ฮอทแบบทุกคนรู้จัก ในขั้น Awareness เรายังสามารถแบ่งเป็นระดับย่อยๆได้อีก เช่น Hot แบบรู้จักติดอันดับ Top 5 ใน industry ? หรือ ก็ Hot แต่ไม่ติด Top 5
ระดับ 2 Consider ไม่ใช่แค่รู้จักแต่แอบชอบในใจ อันนี้คือระดับที่ candidate ไม่ได้แค่รู้จักแต่ว่าเขาเริ่มที่จะมีความคิดในใจแล้วว่าเราเป็นอย่างไร และแอบสนใจเราอยู่เล็กๆ
ระดับ 3 Desire มีเธอคนเดียว ไม่ขอมองใคร ระดับนี้ Candidate จะฝันถึงเรา อยากจะย้ายมาอยู่กับเรา ขอแค่เราเอ่ยปาก เขาก็พร้อมจะหนีตามเรามา
ระดับ 4 Advocate แฟนพันธุ์แท้ต้องบอกให้คนอื่นอิจฉา ระดับนี้เขารู้จักเราหมดไส้พุง แล้วยังจะออกไปป่าวประกาศความดีของบริษัทเราให้คนอื่นฟังด้วย
สำหรับตอนถัดไปเราจะมาดูกันค่ะว่าจะวัดระดับความ hot เหล่านี้ง่ายๆในชีวิตประจำวัน ไม่ให้ต้องรอนานกันถึงปีหน้าจะทำยังไง
Comments