คราวนี้เรามาดูวิธีง่ายๆสำหรับการทำ Employer brand healthcheck โดยใช้การสังเกตในชีวิตการทำงานทั่วไปของพวกเรากันค่ะ โดยแต่ละสถานการณ์เราจะบอกด้วยว่าสามารถใช้วัดระดับความ hot ของแบรนด์ในระดับใดบ้าง
กลับไปอ่านระดับความ hot ของแบรนด์ที่ “Employer Brand ของคุณ Hot ระดับไหน? (ตอนที่ 1)”
สัญญาณเตือน…ช่วยตรวจสุขภาพ
สัญญาณ 1: โพส job ไปแล้ว…ใบสมัครมา 10 เท่าของความตั้งใจ หรือไป Jobfair แล้วรับแขกแทบไม่ทัน
สุขภาพดีวัดได้จากจำนวนใบสมัครและจำนวนคนที่เข้ามาหาเรา เวลาที่เรา push หรือกำลังโฆษณางานบนเว็บไซต์ ออกงานแฟร์ หรือพุ่งตรงไปหาพวกเขาค่ะ แต่ว่าการตรวจสุขภาพในรูปแบบของจำนวนใบสมัครหรือคนสมัครอาจจะยัง basic อยู่ เพราะว่าปกติแล้วจะแบรนด์ใหญ่หรือแบรนด์เล็กแค่ไหนขอให้มีฐานคนใช้ หรือเป็น consumer แบรนด์เท่านั้นแหละค่ะยังไงก็ได้ใบสมัคร
แต่สิ่งที่น่าต้องมาวัดใจกันจริงๆมากกว่าคือแล้วใครสมัคร? ว่าแล้วผ่านการคัดเลือกกี่คน ถ้าคนสมัครล้นหลามให้ความสนใจมากมายแต่ว่าไม่ได้คนที่ต้องการเลยซักคน เพราะว่าคุณสมบัติหรือ attitude ที่ส่งมาไม่เข้าตา เราอาจจะสรุปได้ว่าความรู้จักที่เขาเข้าใจในบริษัทเราอาจจะผิดพลาดก็ได้ (brand perception)
เหมาะสำหรับการวัด : ระดับความ hot 1-3
สถานการณ์ 2: นั่งสวยๆก็มีคนโทรมาขอถามว่าหาคนอยู่รึเปล่า หรือว่าได้ resume มาจากคนในบริษัท
อันนี้อาจจะวัดได้เยอะสำหรับความป๊อบในกลุ่มเด็กจบใหม่ หรือน้องๆ intern ที่กำลังหา โอกาส ว่าแล้วความสนใจของพวกเขาที่จะมาหาโอกาสที่นี่อย่าง proactive มีมากน้อยๆแค่ไหน แน่นอนบางทีคนที่โทรเข้ามาก็ไม่ได้มีข้อมูลอะไรมากกว่าแค่บริษัทเราดัง แต่อาจจะมีอีกแบบที่ฝาก resume กันเขามาทางคนรู้จัก โดยที่เรายังไม่ได้ออกไปตามหา หรืออาจจะผ่านวิธีการทำ networking ก็อาจเป็นตัววัดแรง pull ของเราได้อีกแบบ ในสถานการณ์แบบนี้เราควรรีบถามว่า ได้ยินชื่อบริษัทเรามาจากไหน และรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทเราบ้าง อาจจะทำให้เราเจอ source ของ awareness จากที่ที่ไม่คาดคิด เช่น อาจารย์ หรือว่า คุณแม่เพื่อนแนะนำก็เป็นไปได้
เหมาะสำหรับการวัด : ระดับความ hot 2-3
สถานการณ์ 3: โพสท์ Content บน Corporate Facebook แล้วคนในองค์กรช่วยกันแชร์ให้สนั่น
วิธีนี้สามารถใช้วัดระดับความ engagement ที่พนักงานรู้สึกกับบริษัท หลายๆที่อาจมี strategy ที่พยายามอยากจะใช้ social media เป็นตัวกระจายเรื่องราวในบริษัท แต่เราอาจจะต้องหันมาสำรวจก่อนว่าทุกวันนี้พนักงานของเราเอง ‘like’ page ของบริษัทหรือเปล่า
แล้วเวลาที่เรา post content เขาเห็นรึเปล่า เขาติดตามหรือไม่ comment หรือว่าถึงขั้น share ให้เพื่อนในวงการรึเปล่า ภาพที่เราอาจจะเห็นกันบ่อยๆบน social media ก็จะเป็นตอนที่เราจัดกิจกรรม outing ของบริษัทที่หลายที่อาจจะเอามา bluff กันถึงความอลังเว่อร์วัง แต่ที่จริงแล้วทุกอย่างสามารถเป็นโอกาสในการสร้างการรับรู้ใน social media ได้
เหมาะสำหรับการวัด : ระดับความ hot 4
เหล่านี้เป็นแค่สถานการณ์ตัวอย่างของวิธีการเช็คเรตติ้งค่ะ ถ้าเราลองสังเกตทุกโอกาสที่เราได้เจอ candidat ใหม่ๆ และลองถามคำถามเพื่อให้เห็นมุมมองของเขา จะได้ insight ดีๆที่สามารถมาปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อย่างแน่นอนค่ะ
Comentários